การสลับสีของเม็ดสีอะคริลิคเทอร์โมโครมิก (Thermochromic A Crylic Colour Switch Pigments )

นายธนพล มีสัมพันธ์ นางสาววรรณทิพย์ แสนสิมมา และรองศาสตราจารย์ ดร.ชาติไทย แก้วทอง
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ คณะวิทยาศาสตร์ ปีงบประมาณ 2564

ปัจจุบันสีในทางการค้า มีการแข่งขันกันอย่างมากเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์จึงมีการคิดค้นปรับปรุงคุณสมบัติของสีอะคริลิคให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยในงานวิจัยนี้ใช้สารกลุ่มเทอร์โมโครมิกทางานร่วมกับสีอะคริลิค สารกลุ่มเทอร์โมโครมิกนี้มีอยู่ 2 ประเภท คือ ลูโคดาย และผลึกเหลว สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติพิเศษสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่ออุณหภูมิของสารเปลี่ยนแปลง โดยเลือกใช้ลูโคดายมีคุณสมบัติการผันกลับที่ดีและมีความเป็นพิษน้อยกว่าผลึกเหลว โดยลูโคดายจะมีสีที่อุณหภูมิต่าและไม่มีสีที่อุณหภูมิสูง ในงานวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์เทอร์โมโครมิคดายคอมโพสิตที่มีประสิทธิภาพ โดยพบว่าเทอร์โมโครมิคดายคอมโพสิตมีการเริ่มเปลี่ยนแปลงสีที่อุณหภูมิ 50 60 และ 70 องศาเซลเซียส จากสีน้าเงินเข้มเป็นสีฟ้าอ่อน และสีขาว ตามลาดับ มีการเปลี่ยนสีกลับจากสีขาวเป็นสีฟ้าอ่อน และสีน้าเงินเข้ม เมื่ออุณหภูมิลดลงจากนั้นทาการผสมระหว่างเทอร์โมโครมิคดายคอมโพสิตกับสีอะคริลิคสีเหลืองในอัตราส่วนที่เหมาะสม สีที่เกิดขึ้นจากการผสมคือสีเขียว และเมื่อนาไปทดสอบโดยการเพิ่มอุณหภูมิพบว่ามีการเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองที่อุณหภูมิ 50 และ 60 องศาเซลเซียส ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนสีของเทอร์โมโครมิคดายคอมโพสิตบริสุทธ์ ในส่วนของอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างเทอร์โมโครมิคดายคอมโพสิตกับสีอะคริลิค สุดท้ายเทอร์โมโครมิคดายคอมโพสิตยังสามารถนาไปใช้งานกับสีอะคริลิคสีอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน https://youtu.be/kyNKwy7ZaVc

นอกจากนี้ เม็ดสีย้อมเทอร์โมโครมิคดายคอมโพสิตยังผสมกับพอลิโพรพิลีนในอัตราส่วนที่เหมาะสมเพื่อผลิตพลาสติกเทอร์โมโครมิก https://youtu.be/2Iz9HSCbgd0 มีการใช้ TGA, FTIR, XPS และ SEM เพื่อพิสูจน์ส่วนประกอบทางเคมีและการมีอยู่ของระบบเทอร์โมโครมิกของเม็ดสีย้อมเทอร์โมโครมิกและพลาสติกเทอร์โมโครมิก ผลลัพธ์ในปัจจุบันเกี่ยวกับสีย้อมเทอร์โมโครมิกและพลาสติกเทอร์โมโครมิกที่มีคุณสมบัติเทอร์โมโทรมิกมีส่วนสำคัญในงานวิจัยด้านนี้

รางวัลที่นิสิตได้รับจากงานวิจัยเรื่องสีเทอร์โมโครมิคดายคอมโพสิตและพลาสติกเทอร์โมโครมิก

1) รางวัลการนำเสนอแบบบรรยายระดับดีมาก การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้จัดงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2565

2) รางวัลดีเด่น การนำเสนอภาคโปสเตอร์กลุ่มงานด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ นักศึกษาระดับปริญญาญาตรี การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในวันศุกร์ที่ื 26 มีนาคม 2564

3) รางวัลดีเด่น การนำเสนอแบบบรรยายโครงการ การนำเสนอผลงานวิจัยด้านเคมีของนิสิต ครั้งที่ 4 ประจำปี 2565 (The 4th Chemistry Research Symposium-2022) วันที่ 30 มีนาคม 2565  รูปแบบ ONLINE / ONSITE ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here